วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
หอการค้าสระบุรีร่วมกับเทศบาลสระบุรีนำชาวสระบุรี ต้านโครงการปิดทางรถไฟ ไม่รับ 4 ทางเลือก กรมทางหลวง การรถไฟ
เมื่อ 8 ต.ค.56 เวลา 14.00 น.นายเรวัต แสงนิล ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรีนายทนงศักดิ์ สมนิยมไทย เหรัญญิก หอการค้าสระบุรี (พิธีกร) นายวสันต์ เสถียรพันธ์ ประธานกรรมการที่ปรึกษาหอการค้า นายภาณุพงศ์ ทิพยเศวต.นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี นายจรัล จึงยิ่งเรืองรุ่ง ส.ว. จ.สระบุรี นายวิบูลย์ สุขอนันต์ธรรม ประธานมูลนิธิ สว่างรัตนตรัยธรรมสถาน นายสมบูรณ์ ชุมศักดิ์วินิจเจ้าของโรงแรมชื่อดัง สื่อมวลชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสระบุรี ไม่เห็นด้วยกับทั้ง 4ทางเลือกโครงการปิดทางรถไฟและการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ บริเวณจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือในเขตเทศบาลเมืองสระบุรี ของกรมทางหลวงโดยมี นายวิษุวัต ชุมนุมพันธ์ วิศวกรโครงการ ของ บริษัท สแปม จำกัด เลขที่ 223/5 ซ.รามคำแหง แขวงพลับพลาชัย เขต วังทองหลาง กรุงเทพฯ บริษัทที่ปรึกษา โครงการร่วมเข้าชี้แจงและรับฟังปัญหาของโครงการ ฯ ณ ห้องอมรินทร์ โรงแรมเกี่ยวอัน ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี โดยมีประชาชนเข้าร่วมประชุมรวมประมาณ 300 คน
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการของกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการสำรวจและออกแบบโครงการ ออกมาเป็น 4 ทางเลือก ทางเลือกที่ 1 สะพานเกือกม้ายกระดับและสะพานยกระดับออกแบบเป็นสะพาน 2 ตัว
- สะพานตัวที่ 1 สะพานเกือกม้ายกระดับ (U-Turn) ขนาด 2 ช่องจราจร ตั้งอยู่ในเขตทางรถไฟให้บริการรถในทิศทางขาเข้าเมืองสระบุรี พร้อมกับมีถนนระดับดิน (Frontage) ขนานตลอดแนวสะพานให้บริการแก่ประชาชน
- สะพานตัวที่ 2 ออกแบบเป็นสะพานยกระดับ ขนาด 2 ช่องจราจร ตั้งอยู่บน ทล.1 ให้บริการรถในทิศทางขาออกจากเมืองสระบุรี มีถนนระดับดินคู่ขนานตลอดแนวสะพาน (Frontage)
ทางเลือกที่ 2 สะพานยกระดับข้ามทางรถไฟ ออกแบบเป็นสะพานยกระดับ (Overpass) ขนาด 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 1 ภายในเขตทาง 30 ม. โดยสะพานจะข้ามทางรถไฟและลงมาบรรจบบริเวณแยกพิชัยรณรงค์สงครามเพื่อให้รถที่มาจากหน่วยงานราชการและตลาดสดสามารถขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟได้ พร้อมกันนี้ยังได้ออกแบบถนนระดับดินคู่ขนานตลอดแนวสะพาน (Frontage) ทางเลือกที่ 3 ออกแบบเป็นทางลอด (Underpass) ขนาด 4 ช่องจราจรบนทางหลวงหมายเลข 1 ภายในเขตทาง 30 ม. โดยสะพานจะข้ามทางรถไฟและลงมาจบบริเวณแยกพิชัยรณรงค์สงครามเพื่อให้รถที่มาจากหน่วยงานราชการและตลาดสามารถขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟได้ พร้อมกันนี้ยังได้ออกแบบระดับดินคู่ขนานตลอดแนวสะพาน (Frontage)
ทางเลือกที่ 4 สะพานยกระดับข้ามทางรถไฟ 2 ตัว ออกแบบเป็นสะพาน 2 ตัว สะพานตัวที่ 1 สะพานยกระดับ (Overpass) ขนาด 2 ช่องจราจร ให้บริการรถในทิศทางขาเข้าเมือง โดยสะพานจะยกข้ามทางรถไฟ สี่แยกพิชัยรณรงค์สงครามและแม่น้ำป่าสัก พร้อมกันนี้ได้ออกแบบถนนระดับดินคู่ขนานตลอดแนวสะพาน (Frontage) และมีการขยายสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักเดิม สะพานตัวที่ 2 ออกแบบเป็นสะพานยกระดับ ขนาด 2 ช่องจราจร โดยเชิงลาดสะพานตั้งอยู่ใกล้กับแยกพิชัยรณรงค์สงคราม
มติที่ประชุม มีความเห็นตรงกันว่าทั้งสี่ทางเลือกจะสร้างปัญหาด้านการจราจร โดยหากสร้างแล้วเสร็จ โครงการนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการรถไฟจะทำให้เฉพาะรถไฟวิ่งได้เร็วขึ้นได้กำไรเพิ่มแต่ลงทุนน้อย แต่สร้างปัญหา ด้านการจราจร ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และจะทำให้ จ.สระบุรี เป็นเมืองอกแตก โดนแบ่งแยกออกเป็น 4 ส่วนจากเดิมโดนแบ่งโดยแม่น้ำป่าสักการนำรั้วปิดกั้นทางรถไฟ ลดเส้นทางสร้างปัญหาความสะดวกในการสัญจรไปมาหาสู่กันของประชาชน จึงไม่เห็นด้วยกับทั้ง 4 ทางเลือก ดังกล่าว โดยเห็นว่าโครงการดังกล่าวควรดำเนินการโดยยกรางรถไฟเดิมขึ้น (ลอยฟ้า) เป็นระยะทาง 7 กม. จากบายพาสเสาไห้ชนบายพาสไป จ.ลพบุรี-โคราช ส่วนกรณีโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลที่กำลังจะดำเนินการนั้นต้องการให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่จุดเดียวกับสถานีรถไฟสระบุรี
(คนธรรมดา ม้าตัวเดียว)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น