วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

นสพ.พลังชน เปิดประวัติ นายบรรหาร ศิลปอาชา คนดี ศรีสุพรรณ


          จากไปแล้ว อย่างไม่มีวันกลับ  บรรหาร ศิลปอาชา  คนดี ศรีสุพรรณ  สิ่งที่เหลืออยู่ คือ คุณงามความดี ที่สร้างไว้กับแผ่นดิน  โดยเฉพาะแผ่นดินเกิด ที่จังหวัดสุพรรณบุรี  ประโยชน์คุณูปการ ที่ได้สร้างไว้ จะเป็นที่จารึก จดจำ เล่าขาน สู่ลูกหลานสืบไป 




 

             นายบรรหาร ศิลปอาชา เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 (บางแหล่งกล่าวว่าแท้จริงแล้วเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม ปีเดียวกัน [1] แต่ที่ปรากฏตามทะเบียนราษฎร์คือวันที่ 19 สิงหาคม ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คนของนายเซ่งกิม และนางสายเอ็ง แซ่เบ๊ เดิมมีชื่อว่า นายเต็กเซียง แซ่เบ๊








             สมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋-สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส.ปาริชาติ ศิลปอาชา







             นายบรรหารจบการศึกษาชั้นประถมที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพมาเรียนหนังสือชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเอง เป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้กับการประปาส่วนภูมิภาค จนมีฐานะร่ำรวย








             ต่อมาเมื่อนายบรรหารเป็นนักการเมืองแล้ว จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน









ประวัติการศึกษา และวุฒิกิตติมศักดิ์
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง  นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่นายบรรหาร ศิลปอาชา อีกด้วย[3]








การทำงานทางการเมือง
             นายบรรหาร เข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยได้เป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2517 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2519 และ ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง ต่อมานายบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2523
             ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายบรรหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ได้แก่   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531)   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (4 สิงหาคม 2531 - 9 มกราคม 2533)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (มกราคม 2533 - ธันวาคม 2533) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (14 ธันวาคม 2533 - 23 กุมภาพันธ์ 2534)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร (7 เมษายน 2535 - 9 มิถุนายน 2535)
             ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 นายบรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และเมื่อได้มี พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งจำนวนมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้นายบรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 

             การบริหารราชการแผ่นดินในดำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายบรรหารดำเนินไปปีเศษ เกิดความไม่ราบรื่นจึงมีการยุบสภา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ทำให้นายบรรหารพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
             นายบรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า "มังกรสุพรรณ" หรือ "มังกรการเมือง" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกนายบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร"
             ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พรรคชาติไทยซึ่งใช้สโลแกนหาเสียงว่า "สัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล" นายบรรหารในฐานะหัวหน้าพรรคได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่จะขอร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในห้วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 พรรคชาติไทยได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน และร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549
             ก่อนการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน นายบรรหารได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่อคำถามที่ว่า จะไปร่วมกับพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ นายบรรหารตอบว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมา 30 ปี ผิดหวัง" ซึ่งนายบรรหารไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่สาธารณะก็ตีความว่าหมายถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ แต่เมื่อหลังการเลือกตั้งแล้ว ปรากฏว่านายบรรหารและพรรคชาติไทยก็ไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรคได้ออกมาโจมตีและแฉพฤติกรรมนายบรรหารเป็นการใหญ่
             ปัจจุบัน นายบรรหารรวมทั้งนายวราวุธและนางสาวกัญจนาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคชาติไทย ซึ่งขณะนั้นนายบรรหารดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค








สรุปประวัติทางการเมือง
พ.ศ. 2517 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2518 เป็นสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2519
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งแรก
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2521 เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2523 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2523 - 2524)
พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2529
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2529 - 2531)
พ.ศ. 2531
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2531 - 2533)
พ.ศ. 2533
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2533 - 2534)
พ.ศ. 2535
ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ในการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง
ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ. 2537
หัวหน้าพรรคชาติไทย
ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538)
พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2540 ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2542
ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ประธานที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนอิ่มทุกคนทุกวัน
พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 4
พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เขต 4
พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรี ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประเทศ
[แก้] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นายบรรหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 หลังจากที่พรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยที่มีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งรัฐบาลนายบรรหารนี้มีผลงานคือ การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี พ.ศ. 2540 ที่ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีที่มาจากประชาชนและมีความเป็นประชาธิปไตยที่สุด และได้นำมาใช้ในเวลาต่อมา  นายบรรหารพ้นจากตำแหน่งด้วยการยุบสภา เนื่องจากถูกพรรคฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องสัญชาติเกิดของบิดา






การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
           พ.ศ. 2543 ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นนายกสภาประจำสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา  เครื่องราชอิสริยาภรณ์   ทุติยจุลจอมเกล้า   ปฐมดิเรกคุณาภรณ์   มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก   มหาวชิรมงกุฏ  เหรียญกาชาดชั้น 1  เหรียญราชการชายแดน







       เครดิตภาพ : พรรคชาติไทย/ หนังสือ "บรรหาร ศิลปอาชา ชีวิตและการพัฒนาบ้านเกิด"
เรวัติ  น้อยวิจิตร  นสพ.พลังชน  และ  Hub Admin ศูนย์ข่าวท้องถิ่นออนไลน์  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น