วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหกรรมผู้ว่าฯชี้ช่องทางรวย หลากหลายด้วยมาตรฐาน OTOP

สระบุรี “มหกรรมผู้ว่าฯชี้ช่องทางรวย หลากหลายด้วยมาตรฐาน OTOP”คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2555” พัฒนาการจังหวัดสระบุรีจัดงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2555” มหกรรมผู้ว่าฯชี้ช่องทางรวย โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธาน ณ. ห้องประชุมสวนริมเขา ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
เมื่อ 30 พ.ย.55 เวลา11.00น.นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธานการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย มีนางอารีย์ คีรีวรรณ พัฒนาการจังหวัดสระบุรี กล่าวรายงาน มีผู้ประกอบการOTOP ผู้แทนชุมชน สื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก
นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีกล่าวว่าการลงทะเบียน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2555 เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนได้ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา สินค้า ให้สามารถก้าวสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการ การผลิต และการตลาด อย่างต่อเนื่อง จึงได้กำหนดให้มีการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยขึ้น รวมถึงกำหนดให้มีการพัฒนาตาม กลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่ม เพื่อให้กลุ่มผู้ผลิต มีความตื่นตัวและเป็นการขยายตลาดให้กว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปี 2558 ประเทศไทยก็จะก้าวสู่ประชาคมอาเซี่ยน และจากการเอาใจใส่ของรัฐบาล จึงขอให้กลุ่มผู้ผลิตอย่าได้หยุดการพัฒนา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถก้าวไปสู่จุดหมายคือตลาดสากล
ด้านนางอารีย์คีรีวรรณ พัฒนาการจังหวัดสระบุรี กล่าว่า เปิดโอกาสให้ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ที่ผ่านการลงทะเบียน เป็นผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2555 จำนวน 242 ราย ได้สมัครเข้าร่วมการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2555 การรับลงทะเบียน การคัดสรรโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด ผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเข้าสู่การคัดสรร แบ่งเป็น 5 ประเภท และมีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ มาร่วมคัดสรร .ประเภทอาหารเครื่องดื่มผ้าเครื่องแต่งกายของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกและประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและในการคัดสรรครั้งนี้ ได้กำหนดให้มีการจัดกลุ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มดาวเด่นสู่สากล เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการส่งออกตลาดต่างประเทศได้ในระยะยาว กลุ่มอนุรักษ์ เป็นงานหัตถกรรมประณีตศิลป์ มีเอกลักษณ์ของสินค้าแต่ละชิ้น กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานอื่นที่รองรับ กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน ผลิตได้จำนวนน้อย
(คนธรรมดา ม้าตัวเดียว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น