วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดพระพุทธฉายสระบุรี จัดงาน ตักบาตรเทโวโรหณะ วันออกพรรษา

วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี จัดงานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ วันออกพรรษาตักบาตรข้าวต้มลูกโยน วัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี จัดงานประเพณีตักบาตรข้าวต้มลูกโยนในช่วงออกพรรษา ประจำปี 55 มี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นประธาน คณะหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร,ตำรวจ, ฝ่ายพลเรือน นักการเมือง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนพร้อมกับนำพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสระบุรีเข้าร่วมงานจำนวนมาก
วันนี้ 31 ตุลาคม 2554 เวลา 07.00 น. นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นำพี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสระบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมตักบาตรเทโวโรหณะข้าวต้มลูกโยน ณ วัดพระพุทธฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี ซึ่งจังหวัดสระบุรี ร่วมกับ วัดพระพุทธฉาย จัดงานประเพณีตักบาตรข้าวต้มลูกโยนเป็นประจำทุกปีในช่วงออกพรรษา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริม วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่คู่จังหวัดสระบุรี และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีซึ่งมีมาแต่โบราณกาล พร้อมปลูกฝังส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนจะได้ปลูกฝัง ความรัก ความกตัญญู ต่อพ่อแม่ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างที่พระองค์เสด็จจำพรรษาในเทวโลกชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมปิฎก เพื่อตอบแทนคุณของพุทธมารดา ที่ได้เลี้ยงดูมา และได้ปลูกฝังความสามัคคี ความมีน้ำใจ เสียสละ อนึ่งเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววัดพระพุทธฉายซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัดสระบุรีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระชนมายุอยู่นั้น ทรงเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกลับมายังมนุษยโลกที่เมืองสังกัสคีรี ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประชาชนต่างมารอเฝ้ารับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันนั้นท่านได้กล่าวว่าเป็นวันเปิดโลก ทำให้โลกมนุษย์ สวรรค์ และนรกต่างเห็นกันและกัน ประชาชนที่มาจำนวนมากที่มาเฝ้ารอเสด็จต่าง ปารถนาใส่บาตรพระพุทธองค์ โดยประชาชนที่อยู่ห่างออกไปไม่สามารถจะใส่บาตรได้ถึง จึงใช่วิธีการโยนอาหารของตนลงในบาตรของพระพุทธเจ้า และพระสาวก โดยอาหารเหล่านั้นตกลงในบาตรเป็นที่อัศจรรย์
ซึ่ง"ข้าวต้มลูกโยน" จะมีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่มีขนาดเล็กกว่าอีกทั้งในรูปแบบการห่อมีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยจะไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตร ข้าวต้มลูกโยน หรือ ข้าวต้มหาง ทำมาจากข้าวเหนียว ซึ่งจะนำมาผัดกับกะทิคล้ายกับการทำข้าวต้ม มัดแต่จะมีขนาดเล็กกว่า ข้าวต้มลูกโยนที่นี่จะใส่กล้วยถั่วดำแล้วนำมาห่อซึ่งรูปแบบการห่อจะนำใบเตยหรือใช้ใบมะพร้าว ฯลฯทำเป็นกรวยม้วนพันไปจนหุ้มข้าวเหนียวโดยทิ้งชายไว้จากนั้นจะมัดด้วยตอกก่อนนำไปนึ่งให้สุกอีกครั้ง “การทำข้าวต้มลูกโยน หรือ ข้าวต้มหาง"จะนิยมทำขึ้นในวันออกพรรษาประเพณีนี้ชาวตำบลหนองปลาไหล ได้ปฏิบัติสืบสานมาอย่างต่อเนื่องอีกทั้งเป็นประเพณีเก่าแก่ของที่นี่ซึ่งทุกบ้านจะทำข้าวต้มลูกโยนเพื่อนำไปทำบุญตักบาตรเทโวฯ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าตามตำนาน
โดยเมื่อเริ่มพีธีการตักบาตรได้มีการจำลองการเสด็จลงมาจากสวรรค์ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากชั้นดาวดึงส์เพื่อลงมายังโลกมนุษย์ เพื่อโปรดสัตว์ และมนุษย์โลก โดยมีนางฟ้า นางสวรรค์ เทวดา เสด็จร่วมขบวน ในระหว่างขบวนแห่มีชาวบ้านรอใส่บาตรด้วยข้าวต้มลูกโยน ข้าวสาร อาหารแห้ง ผลไม้แก่พระภิกษุ-สามเณร เป็นจำนวนมาก
(คนธรรมดา ม้าตัวเดียว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น