วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผู้ว่าสระบุรี สั่งลงดาบ โรงงานปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะ

หลังจาก ม๊อบผู้เลี้ยงปลาในกระชัง 4 อำเภอประกอบด้วย อ.เสาไห้ อ.เมือง อ.แก่งคอย อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี น้ำป่าสักเป็นพิษ ปลาตาย เสียหายกว่า 32 ล้านบาท รวมตัวกันเดินทางมาชุมนุมเรียกร้องขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับสาเหตุการตาย และแนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ ต่อผู้ว่าฯสระบุรี ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสระบุรี ได้มีการเจรจานอกรอบในช่วงเช้าไม่พอใจคำชี้แจ้งหน่วยงานภาครัฐ นัดล้มการประชุมรอเจรจาผู้ว่าฯเพียงคนเดียว
เมื่อ 16 ม.ค.56 เวลาประมาณ 13.00 น.นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีได้กลับจากราชการเดินทางมาถึงได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง เพื่อพิจารณาหาข้อยุติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ณ ห้องประชุมทานตะวัน ศาลากลางจังหวัดสระบุรีเสร็จจึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับนายธนพล วัฒนเวช ป้องกันจังหวัดสระบุรีได้เข้าเจรจาให้แกนนำ และสมาชิก กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสระบุรี
นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาและการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมกับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงผลความคืบหน้าทีละหน่วยงาน นายสวง สุดประเสริฐ ผอ.สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้ชี้แจงว่าได้ ตรวจสอบโรงงานต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำเน่าเสีย ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ซึ่งพบว่า เบื้องต้น มีอยู่ 1แห่ง เป็นบริษัท ที่ผลิตแอลกอฮอล์ทางการแพทย์จากซังข้าวโพด ตั้งอยู่เขต อ.แก่งคอย ที่มีค่าเกินมาตรฐาน คือ บ.ออรัลสเปคซิบิลิตี้ เดิมชื่อ บ.อินโดรามา
นายถาวรฯผู้ว่าราชการ จึงกล่าวเสริมว่า เป็นการตรวจสอบทางเทคนิคจากหน่วยงานซึ่งเป็นทีมงานที่รับผิดชอบและทำงานเป็นทีม พบว่า ผลการตรวจสอบเบื้องต้น น้ำ มีค่าสารอินทรีย์เกินมาตรฐาน ( จำนวน 13000 มก./ลิตร ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120มก./ลิตร ) และสารเคมีกับสารอินทรีย์เกินมาตรฐาน ( จำนวน 38000 มก./ลิตร ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 มก./ลิตร) ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำหนังสือให้บริษัทดังกล่าวดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับ/ดำเนินคดีหากยังคงเพิกเฉย
ทางจังหวัดสระบุรีจะจัดทีมงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าไปดำเนินการกับบริษัท ฯ มอบหมายให้ ดร.ชรัส บุญณสะ ปลัดจังหวัดสระบุรี เป็นหัวหน้าทีม โดยเข้าไปแจ้งให้ทางบริษัท แก้ไขปรับปรุง และหากเพิกเฉยจะต้องเสียค่าปรับวันละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท/วัน และหากทางบริษัท ฯ ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบต่อกรณีดังกล่าวจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลต่อไป แต่หากทางบริษัท ฯ รับผิดชอบ จะนำเงินค่าปรับดังกล่าวเข้าเป็นเงินของแผ่นดินต่อไปและจะต้องตรวจสอบโรงงานแห่งอื่นๆเพิ่มเติมด้วย และรับจะดำเนินการตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ข้อกรณีโครงสร้างการป้องกันแก้ไขปัญหาในลุ่มน้ำป่าสักนั้น ทางจังหวัดสระบุรีจะมีการปรับเปลี่ยนคำสั่ง โดยเอาเครือข่ายภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กรณีการจัดตั้งกองทุน จังหวัดสระบุรีได้สั่งการให้ประมงจังหวัดสระบุรี ไปปรึกษาหารือสหกรณ์จังหวัดสระบุรี กรณีจัดตั้งกองทุนของกลุ่ม ฯ ให้ต่อไป กรณีเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานให้ทันต่อเหตุการณ์ ผวจ.สระบุรี ได้แจ้งหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมทราบ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อประสานงานกรณีเกิดปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ และกรณีค่าชดเชยค่าเสียหายนั้น เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนไว้ จังหวัดสระบุรี จึงไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติและจ่ายค่าเสียหายให้ได้ติดระเบียบ/หลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง) ซึ่งในเรื่องดังกล่าวทางจังหวัดสระบุรีจะขอให้ทาง กระทรวงฯ ยกเว้นหลักเกณฑ์/ระเบียบการดังกล่าวให้ต่อไป โดยในเบื้องต้นมอบหมายให้หน่วยงานท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการเรื่องค่าชดเชย/เยียวยาให้อย่างเร่งด่วนต่อไป กลุ่มผู้ชุมนุม ฯ พึงพอใจจึงเลิกประชุมในเวลาประมาณ 14.00 น.
(คนธรรมดา ม้าตัวเดียว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น